ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

ศาลเจ้าพ่อประตูผา (พญามือเหล็ก)

ศาลเจ้าพ่อประตูผา(พญามือเหล็ก)อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำปางตามเส้นทางลำปาง – งาว กิโลเมตรที่ 48 ซึ้งเป็นรอยต่อระหว่าง อำเถองาว-อำเภอแม่เมาะ  ศาลเจ้าพ่อประตูผาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ผู้สัญจรไปมาผ่านเส้น ทางนี้มักแวะสักการะและจุดประทัดถวาย เจ้าพ่อประตูผา เดิมชื่อ พญาข้อมือเหล็กเป็นผู้อยู่คงกระพันชาตรี เป็นทหารเอกของเจ้าผู้ครองนครลำปาง (เจ้าลิ้นก่าน) ครั้งหนึ่งได้ทำการต่อสู้กับพม่าที่ช่องประตูผา จนกระทั้งถูกรุมแทงตายในลักษณะมือถือดาบคู่ยืนพิงเชิงเขา ทหารพม่ากลัวไม่กล้าบุกเข้าไปตีนครลำปาง ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธา และได้ตั้งศาลขึ้นบูชาเป็นที่นับถือของชาวลำปางและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ช่วงประมาณวันที่ 20 – 25 เมษายน ของทุก ๆ ปี ประชาชนและหน่วยงานของรัฐได้ร่วมกันจัดงานประเพณีบวงสรวงสักการะรดน้ำดำหัวเจ้าพ่อประตูผา มีการจัดขบวนแห่เครื่องบวงสรวงและสักการะอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา

แหล่งภาพเขียนสีโบราณ (บริเวณเดียวกับศาลเจ้าพ่อประตูผา)



ภาพจาก https://lampangsiteblog.wordpress.com/

สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือนั้น ภาพเขียนสีโบราณ “ประตูผา” จ.ลำปาง จัดเป็นแหล่งภาพเขียนสีที่มีจำนวนมากและมีความยาวต่อเนื่องมากที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ทางจังหวัดลำปางได้ผลักดันให้พื้นที่ภาพเขียนสีโบราณเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยว ภาพเขียนสีประตูผา ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของค่ายประตูผา ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามของหน้าผาสูงชันและป่าไม้อันเขียวขจี ใกล้ๆกับศาลเจ้าพ่อประตูผา ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวและชาวบ้านที่ใช้เส้นทางนี้นิยมมาแวะกราบไหว้ขอพร ต่อมาทางกองทัพบกจึงร่วมมือกับกรมศิลปากรและหน่วยงานต่าง ๆ

ถ้ำผาไท

ภาพจาก https://www.traveloka.com ถ้ำผาไท ภายในถ้ำเป็นโถงขนาดใหญ่เกิดจากภูเขาหินปูนอายุไม่น้อยกว่าเก้าล้านปี ความลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ 1,150 เมตร ตลอดเส้นทางอุทยานฯ ได้ติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้สะดวกในการเดินชมหินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายในถ้ำ นอกจากนี้ภายในถ้ำยังปรากฏมีเถ้าภูเขาไฟอายุ 15 ล้านปี แน่นอนว่านี่คือ “หนึ่งเดียวในสยาม” ที่ถ้ำผาไทแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2469 ดังปรากฏหลักฐาน พระปรมาภิไธยย่อ ปปร. ภายในถ้ำ นอกจากนี้ยังมีค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ และในบริเวณใกล้เคียงมีถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีประวัติเก่าแก่ สามารถเดินถึงได้จากถ้ำผาไท

ศูนย์บริบาลช้างบ้านปางหละ

ภาพจาก https://thailandelephant.org/ ในอดีตองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีช้างงานมากกว่า 150 เชือกกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ เพื่อช่วยในการชักลากไม้ตามป่าสัมปทานต่าง ๆ ซึ่งในการชักลากไม้ต้องใช้ช้างทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำให้มีลูกช้างเกิดทุกปี ลูกช้างนั้นจะต้องอยู่กับแม่ช้างและกินนมแม่อยู่นาน 3-4 ปี จึงจะสามารถแยกลูกช้างออกไปฝึกได้ ทำให้เป็นภาระต่อหน่วยช้างที่มีช้างแม่ลูกอ่อน และส่วนใหญ่ลูกช้างมากกว่าครึ่งต้องล้มตายลงจากอุบัติเหตุป่า เช่น ถูกสัตว์มีพิษและสัตว์ร้ายในป่าทำร้าย เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2512 ศ.ดร.อำนวย คอวนิช อดีตผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองทำไม้ภาคเหนือ ได้มองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ก่อตั้ง “ศูนย์ฝึกลูกช้าง” ขึ้นที่บ้านปางหละ ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ปัจจุบันศูนย์บริบาลช้างบ้านปางหละ มีหน้าที่ดูแลช้างชราให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยเป็นช้างที่เกษียณจากการทำงาน หรืออาจจะเป็นช้างพิการ ตาบอด, ช้างที่ได้รับสารเสพติดเนื่องมาจากใช้ทำไม้ และช้างอันตราย เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังสุดท้ายของช้าง โดยเน้นการเลี้ยงดูที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง เลี้ยงในป่า และมีโรงผลิตยาสมุนไพรช้างที่สามารถผลิตได้เฉลี่ยเดือนละ 600 กิโลกรัม

วัดจองคำ


ภาพจาก https://travel.kapook.com/view201400.html
วัดจองคำ เป็นวัดที่มีศิลปะแบบไทยใหญ่ที่สวยงาม ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

วิหารไม้ หลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง

พุทธคยา หนึ่งในสี่สังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา สถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว จึงเป็นศูนย์รวมจุดหมายของ ผู้แสวงบุญชาวพุทธ ผู้มีศรัทธาทั่วโลก โดยมีพระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ตั้งเด่นอยู่ท่ามกลางกลุ่มเจดีย์อีก 4 องค์ ก่อสร้างด้วยหินทรายสีนํ้าตาลนวล มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดแหลมคล้ายยอดพระเจดีย์ทั่วไป มีความสูงประมาณ 51 เมตร